ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ข้อมูลอ้างอิง
dot
bulletกฎหมายอ้างอิงใน-ทัศนะฯ/ข่าวด่วนฯ
dot
ต้องการรับข่าวสารทาง E-mail โปรดกรอก Address

dot


หลักสูตรอบรม Update การภาษีอากรและบัญชี นับชั่วโมงได้ครบถ้วนสำหรับ TA/สำนักงานบัญชีตัวแทน พ่วงด้วยในส่วนของ CPA และผู้ทำบัญชีเก็บชั่วโมงบัญชีได้ 6 อื่นๆ 7 รวม 13 ชั่วโมง (รวมจรรยาบรรณ 1 ชั่วโมง)
ให้การอบรม/สัมมนาที่เข้มข้น และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่เพียงถือว่าได้ผ่านการอบรมแล้ว แต่ปฏิบัติจริงไม่เป็น "หลักสูตรดี อบรมเข้ม เน้นปฏิบัติได้ ต้องที่ PAT. Training & Business"
ประมวลรัษฎากร ฉบับอิเลคโทรนิค โดยกรมสรรพากร....เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้องครบถ้วน
เวปไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อการอ้างอิงเกี่ยวกับการบัญชีและงบการเงิน
เวปไซต์ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เพื่อการอ้างอิงเกี่ยวกับการภาษีอากร
เวปไซต์ สภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อการอ้างอิงของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี


เงินกู้ยืมกรรมการในงบการเงิน article

 

เงินกู้ยืมกรรมการในงบการเงิน
ในงบการเงินของบริษัทจำกัดในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ระบุ"เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กรรมการ" จำนวน850,000 บาท โดยกรรมการผู้กู้เงินลงชื่อรับรองงบการเงิน  ดังนี้  ขอถามว่า  บริษัทถูกเจ้าหนี้ฟ้องและศาลพิพากษาให้บริษัทชำระหนี้ แต่บริษัทไม่มีทรัพย์สินให้ยึดทรัพย์ เจ้าหนี้จะใช้สิทธิของบริษัทฟ้องให้กรรมการผู้กู้เงินที่ปรากฏในงบการเงิน ชดใช้เงินได้หรือไม่  งบการเงินดังกล่าวเป็นหลักฐานการกู้ยิมของกรรมการได้หรือไม่
 
ผู้ตั้งกระทู้นายสายชล มาเจริญ (ni_cat-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-08-18 11:43:11
ตอบ คุณ "สายชล มาเจริญ"
เมื่อเจ้าหนี้ได้มีฐานะเป็น "เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา" แล้ว ก็ย่อมมีสิทธิตามกฎหมายในการที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ (ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๘๒ ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งใดกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่ง ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะรวบรวมเงินให้พอชำระตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธียึดหรืออายัด และขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา...) ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ต้องทำการสืบทรัพย์เพื่อขอให้ศาลบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์นั้นขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่ตนโดยกรมบังคับคดี หรือหากเป็นสิทธิเรียกร้องหรือหนี้เงินก็บังคับคดีโดยให้จ่ายชำระหนี้ได้ (ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๓๑๐ทวิ ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งหรือเรียกให้ส่งมอบสิ่งของนอกจากที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๑๐ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดและจำหน่ายไป...)
"เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กรรมการ" ก็ถือเป็นทรัพย์สินของบริษัท ในรูปแบบของสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย บริษัทฯ ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องนำทรัพย์สินที่มีอยู่มาจ่ายชำระหนี้ ในเมื่อทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพของสิทธิเรียกร้อง (ลูกหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา) ต้องพิจารณาว่า
1. สิทธิเรียกร้องนั้นเจ้าหนี้ (บริษัทฯ) สามารถใช้สิทธิได้แล้วหรือไม่? หมายถึงครบกำหนดชำระแล้วหรือไม่นั่นเอง ถ้าครบกำหนดชำระแล้ว บริษัทฯ(ลูกหนี้ตามคำพิพากษา)ต้องใช้สิทธิแห่งตนเรียกให้กรรมการจ่ายชำระหนี้คืนมาเพื่อที่จะได้นำไปชำระต่อให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของตน หากถึงกำหนดแล้วแต่บริษัทฯ เพิกเฉยไม่ยอมใช้สิทธิแห่งตน ถือเป็นการกระทำที่ส่งผลเสียหายต่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ย่อมสามารถใช้อำนาจตามกฎหมายในการรักษาประโยชน์ของตนได้ ด้วยการเป็นผู้ฟ้องร้องเรียกให้กรรมการจ่ายชำระหนี้เงินให้กู้ยืมดังกล่าวนี้ได้ (ปพพ. มาตรา ๒๓๓ ถ้าลูกหนี้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้อง หรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเอง แทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้...)
2. สิทธิเรียกร้องหรือหนี้ ที่จะฟ้องร้องกันได้นั้น ในกรณีก็ยืมเงินกันเกินกว่า 2,000 บาท ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ จะอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ เพียงแต่ให้มีการลงลายมือชื่อของผู้ที่ต้องรับผิด(ผู้ก็ยืม)ไว้เป็นสำคัญ ไม่จำเป็นต้องทำกันในรูปแบบของหนังสือสัญญาลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายแต่อย่างใด (ปพพ. มาตรา ๖๕๓ การกู้ยืมเงิน กว่า สองพันบาท ขึ้นไป นั้น ถ้า มิได้มี หลักฐานแห่งการกู้ยืม เป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อ ผู้ยืม เป็นสำคัญ จะฟ้องร้อง ให้บังคับคดี หาได้ไม่...)
=> ตามข้อมูลที่คุณสายชล ให้มาโดยย่อนั้น ตามปกติหากงบการเงินผ่านสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีที่เข้มงวด ย่อมต้องมีการขอให้บริษัทฯ ปฏิบัติให้ชัดเจน ในหลักฐานการกู้ยืมเงินระหว่างกัน รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กำหนดชำระคืน อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น (อาจขอให้มีการรับสภาพหนี้, มีหลักฐานการรับเงินไปโดยผู้ยืม หรือ ขอให้ผู้ยืมออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ฯลฯ) เช่นนี้ย่อมชัดเจนได้คำตอบแล้วว่า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะฟ้องร้องหรือขอให้บังคับคดีได้แน่ๆ แต่จะเป็นเมื่อไร ขึ้นอยู่กับ กำหนดการจ่ายชำระคืน
=> แต่หากเป็นกรณีที่การสอบบัญชีผ่านผู้สอบบัญชีที่ไม่เข้มงวด ก็อาจไม่มีความชัดเจนใดๆ ทั้งเงื่อนไข และเอกสารหลักฐานการกู้ยืม เช่นนี้ ประเด็นตามข้อ 1. หากไม่ได้ระบุกำหนดการจ่ายชำระคืนกันไว้ ให้ถือว่าครบกำหนดชำระทันที สิทธิเรียกร้องหรือหนี้เงินให้กู้ยืมนี้ครบกำหนดชำระแล้ว (ปพพ. มาตรา ๒๐๓ ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน...)
ส่วนประเด็นตามข้อ 2. การลงชื่อรับรองงบการเงินโดยกรรมการย่อมเป็นการรับรองความถูกต้องของรายการทุกรายการตามงบการเงินนั้นๆ ว่าถูกต้องแล้ว แต่ในงบการเงินดังกล่าวมีเพียงรายการที่แสดงไว้ในงบดุลด้วยว่าตนเอง (กรรมการผู้รับรองงบการเงิน) เป็นลูกหนี้เงินกู้ยืมจากบริษัทฯ อยู่ด้วยแล้วยังลงชื่อรับรองความถูกต้อง แม้จะไม่ได้ท้วงติง ผู้เขียนเห็นว่ายังไม่ชัดเจนที่จะถือได้อย่างสมบูรณ์ว่างบการเงินนี้คือ "หลักฐานเป็นหนังสือ" ของการกู้ยืมเงิน เนื่องจากยังขาดความชัดเจนถึงการที่จะยอมรับในมูลหนี้นั้นหรือไม่เป็นการ ลงลายมือชื่อผู้ยืม และถ้ากรรมการผู้นั้นยังปฏิเสธด้วยว่าไม่ยอมรับการเป็นหนี้ อาจจะฟ้องร้องหรือบังคับคดีกันไม่ได้ครับ แต่ถ้าหากได้มีการเปิดเผยถึงภาระหนี้สินระหว่างบริษัทฯ กับกรรมการไว้ เป็นการเฉพาะและชัดเจนในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย เช่นนี้ผู้เขียนเห็นว่า การลงลายมือชื่อรับรองงบการเงินของกรรมการท่านนี้ ฟังได้ว่าเป็นการ ลงลายมือชื่อผู้ยืม และงบการเงินฉบับที่มีการเปิดเผยถึงภาระหนี้เงินกู้ยืมไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วยนี้ถือเป็น หลักฐานเป็นหนังสือ ของการกู้ยืมเงิน อันย่อมเป็นสิทธิเรียกร้องหรือหนี้เงินกู้ยืมที่ฟ้องร้องหรือบังคับคดีกันได้ครับ
  • โปรดสังเกตนะครับผมใช้คำว่า “อาจจะฟ้องร้องหรือบังคับคดีกันไม่ได้” เนื่องจากว่าผู้ที่ตัดสินว่าจะฟ้องร้องได้หรือไม่ได้นั้น คือศาล กรณีเช่นนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา อาจใช้สิทธิยื่นฟ้องต่อศาลไป แล้วเป็นดุลพินิจของศาลท่านเอง ในการที่จะรับฟ้องหรือไม่ ท่านอาจเห็นได้ว่าจะเป็นการยุติธรรมแก่คู่พิพาท ในการที่จะได้มีโอกาสนำสืบสืบพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงต่างๆ ต่อศาล แม้ในการไต่สวนมูลฟ้องลูกหนี้อาจแถลงค้านก็ตาม
  • คำถามของคุณสายชล ถามมาเพียงแต่ว่าจะฟ้องได้หรือไม่ แต่ต้องไม่ลืมนะครับว่าเจ้าหนี้ในกรณีพิพาทนี้คือ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ที่ไม่ได้มีสิทธิแค่นำคดีฟ้องต่อศาลให้มีการชำระหนี้แก่ตนเพียงทางเดียวเท่านั้นนะ เค้ายังมีสิทธิที่จะเลือกใช้ด้วยการบังคับคดี ตาม ป.วิ.แพ่ง ได้ แม้ผู้ครอบครองทรัพย์สินที่จะบังคับคดีหรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องใดๆ ที่จะถูกบังคับคดีนั้นจะมีข้อโต้แย้งหรือต่อสู้อย่างไรอยู่ก็ตาม ศาลก็ยังคงออกหมายบังคับคดี เพื่อเรียกเข้าสู่กระบวนการไต่สวนเพื่อการบังคดีได้ (ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๓๑๐ เมื่อได้มีการยึดทรัพย์แล้ว สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้น ให้จัดการดังนี้...(๓) ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องอื่นๆ นอกจากที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๑๐ ทวิ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกบุคคลซึ่งต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นๆ ให้มาศาล…, มาตรา ๓๑๑ ...คำสั่งอายัดนั้น อาจออกให้ได้ไม่ว่าหนี้ของบุคคลภายนอกนั้นจะมีข้อโต้แย้งหรือมีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขหรือว่าได้กำหนดจำนวนไว้แน่นอนหรือไม่...)
ตกลงคำตอบที่ให้มีทั้งฟ้องร้องหรือบังคับคดีกันได้ และไม่ได้นะครับ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงแห่งคดีครับ หลายๆ ท่านที่ได้ติดตามการตอบของผม คงเห็นได้ว่าไม่เคยตอบอะไรแบบสั้นๆ เนื่องจากต้องการตอบโดยกระตุ้นให้ทุกๆ ท่านได้เกิดประเด็นความคิดเพิ่มเติมที่ต่อยอดได้มากยิ่งขึ้นครับ ประเด็นปัญหาในข้อกฎหมายต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่และรอบด้านนะครับ ผู้เขียนไม่ได้มีอคติใดๆ ต่อการตอบข้อหารือของส่วนงานราชการนะครับ แต่มักจะไม่แนะนำให้ใครทำข้อหารือไป เนื่องจากการตอบของเจ้าหน้าที่ค่อนข้างรัดกุมมากเกินไปในการตอบ และเห็นว่าค่อนข้างไปในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนงานราชการนั้นๆ เสียมากกว่า จนผู้ซักถามนำไปใช้ประโยชน์แทบไม่ได้เลย แต่กลับเป็นข้อเสียเนื่องจากเป็นการเปิดเผยตัวต่อเจ้าหน้าที่ซะนี่
จากคำตอบข้างต้นนี้ อาจสร้างไอเดียให้แก่บางท่านในเชิงที่ขัดต่อความมีธรรมาภิบาลได้ นั่นคือ อ๋อ!!! ถ้าใช้บริการสอบบัญชีโดย นักแม่นปืน แล้ว อาจหลุดจากมูลหนี้ได้ใช่ม๊า??? จึงจำเป็นต้องชี้ช่องให้ทางฝั่งผู้รักษาธรรมาภิบาลหรือฝั่งเจ้าหนี้ที่อาจต้องเสียประโยชน์ด้วยในการที่จะกำราบบรรดาลูกหนี้ที่หัวหมอ ว่าท่านสามารถเล่นงานพวกนี้ได้ทั้งทางแพ่งและอาญา ตาม พรบ.การบัญชี พ.ศ. 2543, พรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และกฎหมาย ปปง. เนื่องด้วยผู้เกี่ยวข้องกับกรณีเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี(กรรมการบริษัท) หรือผู้สอบบัญชี กระทำความผิดในฐานการทำบัญชี การจัดทำและนำส่งงบการเงินอันเป็นเท็จ ด้วยการแสดงภาระหนี้ในงบการเงินแต่ผู้เป็นหนี้ไม่ยอมรับในมูลหนี้นั้น (ฟ้องร้องหรือบังคับคดีไม่ได้) อ้าว!! แล้วเงินของกิจการจ่ายออกไปไหนให้ใครกันนี่ อ๊ะ!! ฟอกเงินหรือเปล่า โทษแรงนะจะบอกให้

ผู้เขียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีคนหนึ่ง ซึ่งมีความรังเกียจอย่างยิ่งต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ทำตัวเป็น “นักแม่นปืน รวมทั้งผู้ประกอบการที่ยังคงมีทัศนคติแย่ๆ ในการที่เสาะหาเพื่อใช้บริการจาก นักแม่นปืน ด้วย เนื่องจากเป็นการทำลายวิชาชีพของผู้เขียนโดยส่วนรวม แต่ไม่สิ้นหวังครับ วันหนึ่งไอ้พวก นักแม่นปืน” นี้ต้องหมดไปจากแผ่นดินไทย จนผู้ประกอบการที่ทัศนะแย่ๆ นี้หาคนเซ็นงบให้ไม่ได้........ต้องมีสักวัน...ต้องมีสักวัน




บทความและข่าวสารบัญชี

ความตลกที่ขำไม่ออก ในวิชาชีพบัญชี เมื่อเจ้าหน้าที่ธนาคารถูกนักบัญชี “อำ” article
ปัญหางบการเงินของ-หจก. article
ข้อมูลน้อยนิดคิดอะไรได้บ้าง? article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.