ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ข้อมูลอ้างอิง
dot
bulletกฎหมายอ้างอิงใน-ทัศนะฯ/ข่าวด่วนฯ
dot
ต้องการรับข่าวสารทาง E-mail โปรดกรอก Address

dot


หลักสูตรอบรม Update การภาษีอากรและบัญชี นับชั่วโมงได้ครบถ้วนสำหรับ TA/สำนักงานบัญชีตัวแทน พ่วงด้วยในส่วนของ CPA และผู้ทำบัญชีเก็บชั่วโมงบัญชีได้ 6 อื่นๆ 7 รวม 13 ชั่วโมง (รวมจรรยาบรรณ 1 ชั่วโมง)
ให้การอบรม/สัมมนาที่เข้มข้น และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่เพียงถือว่าได้ผ่านการอบรมแล้ว แต่ปฏิบัติจริงไม่เป็น "หลักสูตรดี อบรมเข้ม เน้นปฏิบัติได้ ต้องที่ PAT. Training & Business"
ประมวลรัษฎากร ฉบับอิเลคโทรนิค โดยกรมสรรพากร....เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้องครบถ้วน
เวปไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อการอ้างอิงเกี่ยวกับการบัญชีและงบการเงิน
เวปไซต์ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เพื่อการอ้างอิงเกี่ยวกับการภาษีอากร
เวปไซต์ สภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อการอ้างอิงของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี


ฟ้าผ่า!!! เมื่อโดนภาษีเงินรางวัล/ชิงโชค-ย้อนหลัง article

 

เป็นปัญหาจนได้! ในกรณีของน้องปลายฟ้า ผู้โชคดีได้รับเงินรางวัลในการประกวดตั้งชื้อเจ้าแพนด้า “หลินปิง” ตอนที่ประกาศผลรางวัลใหม่ๆ ผมว่าจะเขียนเตือนไว้แล้วเชียว แต่ก็ลืมไม่ได้เขียน ยังไงก็ขอยกเป็นประเด็นตัวอย่างเพื่อเตือนผู้โชคดีรายอื่นๆ ที่ยังไม่โดนภาษีย้อนหลัง (อาทิเช่น น้อง??? นักเรียนโรงเรียนสมุทรปราการ ผู้โชคดีได้รับรางวัลทายผลบอลโลกปี 2010 จาก นสพ.ไทยรัฐ) และผู้จะโชคดีในอนาคต ไว้ด้วยละกัน
          ประเด็นที่มักจะเข้าใจกันคลาดเคลื่อนก็คือ “เมื่อถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตอนรับเงิน/ของรางวัล กันแล้วที่ 5% ก็เป็นอันหมดสิ้นภาระทางภาษีแล้ว” โดยแท้จริงแล้วความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้องนะครับ ย้ำ! เน้น! ขีดเส้นใต้เอาไว้! (ว่าไม่ถูกต้อง) ภาระภาษีจะหมดไปได้ก็ต่อเมื่อสิ้นปีภาษีแล้วผู้ได้รับเงิน/ของรางวัล ได้ดำเนินการยื่นแบบคำนวณและนำส่งภาษีประจำปี (ภ.ง.ด.90) ซึ่งมีกำหนดเวลาให้ยื่นได้ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยที่หากผู้มีเงินได้เป็นผู้เยาว์ก็เป็นหน้าที่ของผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ดำเนินการแทน (ตามมาตรา 56 และ 57 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28)) ซึ่งผลจากการคำนวณยื่นแบบอาจเป็นไปได้ทั้งต้องจ่ายภาษีเพิ่ม หรือจะได้รับคืนเงินภาษีที่ถูกหักไว้เกิน
          ข้อสังเกตก็คือเมื่อเราจะยึดปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่ว่านี้ รอถึงสิ้นปีภาษีแล้วค่อยไปดำเนินการ จะต้องมีการวางแผนทางการเงินที่ดีนะ นั่นคือต้องคำนวณภาษีแล้วกันเงินไว้ด้วย เนื่องจากผู้โชคดีได้รับเงิน/ของรางวัลส่วนใหญ่เข้าใจผิดตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น จึงมักจะไม่มีผู้ใดกันเงินไว้หรือสำรองเงินไว้เพื่อจ่ายภาษีตอนสิ้นปีกันเลย มาวันนี้ปัญหาจึงแดงขึ้นมาว่าจะหาเงินที่ไหนมาจ่ายภาษีกันหล่ะทีนี้???? เฮ้อ! หนักใจและเห็นใจน้องปลายฟ้า จัง แต่กฎหมายก็คือกฎหมาย ทุกคนต้องเท่าเทียมกัน ตกลง ณ วันนี้จะถือว่าลาภที่ได้คือ โชคดีหรือทุกขลาภกันแน่ เพราะไม่เข้าใจและขาดการวางแผนจัดการการเงินและภาษีแท้ๆ
          นอกจากคำแนะนำในการวางแผนจัดการเมื่อเราเป็นผู้โชคดีได้รับเงิน/ของรางวัลจากการชิงโชค เช่นนี้ ด้วยการคำนวณภาษีแล้วกันเงินไว้ส่วนหนึ่งเพื่อเสียภาษีแล้ว ท่านผู้โชคดียังต้องมีหน้าที่ยื่นแบบและนำส่งภาษีครึ่งปีไว้เป็นการล่วงหน้าด้วย ในกรณีที่การได้รับเงิน/ของรางวัลนั้น เกิดขึ้นในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 ซึ่งต้องยื่นแบบและนำส่งภายในเดือนกันยายนของปีที่ได้รับเงินได้นั้น ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56 ทวิ
ตัวอย่างการคำนวณเพื่อกันเงินไว้จ่ายภาษีประจำปี-น้อง??? ผู้ได้รับรางวัลเงินสดจาก นสพ.ไทยรัฐ จากการทายผลฟุตบอลโลก จำนวน 10 ล้านบาท

เงินได้พึงประเมิน (มาตรา 40(8))
10.000,000
หัก รายจ่ายตามจริงและสมควร(ต้องมีหลักฐาน) (สมมติว่าไม่มี)
(0)
เงินได้พึงประเมินหลังหักรายจ่าย
10,000,000
หัก ลดหย่อนส่วนตัวผู้มีเงินได้
(30,000)
เงินได้พึงประเมินคงเหลือสุทธิที่ต้องเสียภาษี (ไม่มีลดหย่อนอื่น)
9,970,000
คำนวณภาษีเงินได้
 
ส่วนที่เกิน 4 ล้านบาท (4,000,001 - 9,970,000) เสีย 37%
2,208,900
ส่วนที่ไม่เกิน 4 ล้านบาท เสียภาษีดังนี้
 
 150,000 บาทแรกได้รับยกเว้นไม่เสียภาษี
0
 ส่วนที่เกิน 150,000 บาทไม่เกิน 5 แสนบาท เสีย 10%
35,000
 ส่วนที่เกิน 5 แสนบาทไม่เกิน 1 ล้านบาท เสีย 20%
100,000
 ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทไม่เกิน 4 ล้านบาท เสีย 30%
900,000
รวมจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้น
3,243,900
หัก ภาษีที่ได้ถูกหักไว้แล้ว ณ ที่จ่าย (5%)
(500,000)
ดังนั้น ต้องจ่ายภาษีเพิ่มสุทธิจำนวน
2,743,900

 
วันนี้ขอฝากคำถามไปถึงน้อง??? ผู้โชคดีที่ได้รับเงินรางวัลดังกล่าวนี้ ท่านผู้ปกครองได้กันเงินหรือสำรองเงินไว้เพื่อเสียภาษีประจำปี จำนวนโดยประมาณ 2 ล้าน 7 แสนกว่าบาทแล้วหรือยัง???? เตือนไว้เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาซ้ำรอยกับกรณีของน้องปลายฟ้า นะครับ ด้วยความเป็นห่วงครับ



บทความและข่าวสารภาษี

น้ำท่วม...น้ำท่วม...น้ำท่วม....มหาอุทกภัย (กับภาระทางภาษีอากร) article
ภาระภาษีของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์/รับเหมาก่อสร้าง article
ไม่แน่ใจว่าจะยื่น ภพ.36 กรณีใดบ้างค่ะ??? article
ภาษีซื้อค่าอาหารของกิจการรับจัดอบรมสัมมนา article
ภาระภาษีของการซื้อ/ดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ทางอินเตอร์เน็ท article
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทางออกหนึ่งที่น่าสนใจในการบริหารส่วนกลาง article
ประเด็นเด็ดที่นายกฯสมัคร แพ้คดี คือ เจตนารมณ์ของกฎหมายที่มีระดับศักดิ์ต่างกันในการตีความหนึ่ง และหลักฐานทางภาษีอากรจากแบบนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอีกประการหนึ่ง article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.