ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ข้อมูลอ้างอิง
dot
bulletกฎหมายอ้างอิงใน-ทัศนะฯ/ข่าวด่วนฯ
dot
ต้องการรับข่าวสารทาง E-mail โปรดกรอก Address

dot


หลักสูตรอบรม Update การภาษีอากรและบัญชี นับชั่วโมงได้ครบถ้วนสำหรับ TA/สำนักงานบัญชีตัวแทน พ่วงด้วยในส่วนของ CPA และผู้ทำบัญชีเก็บชั่วโมงบัญชีได้ 6 อื่นๆ 7 รวม 13 ชั่วโมง (รวมจรรยาบรรณ 1 ชั่วโมง)
ให้การอบรม/สัมมนาที่เข้มข้น และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่เพียงถือว่าได้ผ่านการอบรมแล้ว แต่ปฏิบัติจริงไม่เป็น "หลักสูตรดี อบรมเข้ม เน้นปฏิบัติได้ ต้องที่ PAT. Training & Business"
ประมวลรัษฎากร ฉบับอิเลคโทรนิค โดยกรมสรรพากร....เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้องครบถ้วน
เวปไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อการอ้างอิงเกี่ยวกับการบัญชีและงบการเงิน
เวปไซต์ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เพื่อการอ้างอิงเกี่ยวกับการภาษีอากร
เวปไซต์ สภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อการอ้างอิงของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี


ภาษีซื้อค่าอาหารของกิจการรับจัดอบรมสัมมนา article

ภาษีซื้อค่าอาหารของกิจการรับจัดอบรมสัมมนา

 

ผมรบกวนขอความรู้หน่อยครับ คือ บริษัท P เป็นกิจการที่ให้บริการในการจัดอบรมสัมมนา ซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายคือค่าอาหารและเครื่องดื่ม(ช่วงพักเบรค) ซึ่งก็คือต้นทุนของการจัดอบรมสัมมนาในแต่ครั้งเช่นกัน และใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบที่กิจการได้รับในช่องรายการไม่ได้ระบุว่าเป็นอาหารประเภทใด แต่ระบุว่าเป็น "ค่าอาหารและเครื่องดื่ม" ผมรบกวนถามว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวจะนำมาขอเครดิตได้หรือไม่ครับ และมีข้อหารือ หรือ กฎหมายระบุไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ครับ 

ขอบคุณครับ

ผู้ตั้งกระทู้ ตัวปัญหา :: วันที่ลงประกาศ 2010-07-12 10:03:49

 

ตอบ คุณ “ตัวปัญหา”

ขอไล่ตอบไปตาม Step ดังนี้นะครับ

1. ตัวแม่ (ฐานภาษี) มีปัญหาหรือไม่? ถ้ามีปัญหาก็ไม่ต้องพูดถึงตัวลูก (ภาษีซื้อ) เลยนะครับ

=> ถ้าเรามีหลักฐานแวดล้อมอื่นๆ ประกอบด้วยอย่างชัดเจน ว่าเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงและเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมการจัดอบรมสัมมนาในครั้งนี้ ก็ไม่มีปัญหาถือเป็นรายจ่ายได้ตามประมวลรัษฎากร ระวังอย่าให้เกิดเป็นการต้องห้ามตาม มาตรา 65 ตรี (9) รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หรือ... และ(13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และ(18) รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ

2. เมื่อแม่ไม่ต้องห้ามเป็นรายจ่ายแล้ว ก็มาดูกันต่อในส่วนของลูกกันบ้าง

=> การที่จะนำใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวมาขอเครดิตได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาในประเด็นที่ว่า เข้าข่ายเป็นกรณีต้องห้ามนำมาหักภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

มาตรา 82/5 ภาษีซื้อในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3

          (1) กรณีไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ เว้นแต่จะเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด “แต่เรามี..นะ”

          (2) กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือ ไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด “ไหน..มาลองเช็คกันดูซิว่า ของเราไม่สมบูรณ์หรือเปล่า”

         

          มาตรา 86/4 ... ใบกำกับภาษีต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้

                   (1) คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด “มีใช่ม๊ะ?”

                   (2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี... “มีน๊ะ!!

                   (3) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ “นี่ก็มีครบนะ”

                   (4) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม ถ้ามี “โอเค๊?”

                   (5) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ “ปัญหาอยุ่ตรงนี้ใช่ม๊า? เดี๋ยวค่อยย้อนกลับมาดูนะ”

                    (6) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง “เป็นไปตามนี้นะ”

                    (7) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี “มีอยู่นะ”

                    (8) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด “เช่น กรณีเอกสารออกเป็นชุด, กรณีทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัด”

 

=>ในรายละเอียดของการปฏิบัติ ทางกรมสรรพากรได้ออกประกาศเพื่อเป็นแนวทางที่ชัดเจนขึ้น(ไม่ถือเป็นกฎหมายนะ ไม่ทำตามก็ได้) ที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีคือ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 86/2542 ส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีปัญหาของเราก็คือ ข้อ 4 (5) และ (6) ที่ว่า

          (5) ชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุเฉพาะชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี เว้นแต่...

          (6) มูลค่าของสินค้าหรือของบริการที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง

 

=>การที่ใบกำกับภาษีที่ถามมา ระบุว่าเป็น "ค่าอาหารและเครื่องดื่ม" ก็เห็นว่าเพียงพอและสอดคล้องกับ มาตรา 86/4 ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 86/2542 แล้ว สรุปว่า ขอเครดิตภาษีได้ไม่ต้องห้ามครับ

Webmaster

 




บทความและข่าวสารภาษี

น้ำท่วม...น้ำท่วม...น้ำท่วม....มหาอุทกภัย (กับภาระทางภาษีอากร) article
ภาระภาษีของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์/รับเหมาก่อสร้าง article
ฟ้าผ่า!!! เมื่อโดนภาษีเงินรางวัล/ชิงโชค-ย้อนหลัง article
ไม่แน่ใจว่าจะยื่น ภพ.36 กรณีใดบ้างค่ะ??? article
ภาระภาษีของการซื้อ/ดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ทางอินเตอร์เน็ท article
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทางออกหนึ่งที่น่าสนใจในการบริหารส่วนกลาง article
ประเด็นเด็ดที่นายกฯสมัคร แพ้คดี คือ เจตนารมณ์ของกฎหมายที่มีระดับศักดิ์ต่างกันในการตีความหนึ่ง และหลักฐานทางภาษีอากรจากแบบนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอีกประการหนึ่ง article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.