ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ข้อมูลอ้างอิง
dot
bulletกฎหมายอ้างอิงใน-ทัศนะฯ/ข่าวด่วนฯ
dot
ต้องการรับข่าวสารทาง E-mail โปรดกรอก Address

dot


หลักสูตรอบรม Update การภาษีอากรและบัญชี นับชั่วโมงได้ครบถ้วนสำหรับ TA/สำนักงานบัญชีตัวแทน พ่วงด้วยในส่วนของ CPA และผู้ทำบัญชีเก็บชั่วโมงบัญชีได้ 6 อื่นๆ 7 รวม 13 ชั่วโมง (รวมจรรยาบรรณ 1 ชั่วโมง)
ให้การอบรม/สัมมนาที่เข้มข้น และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่เพียงถือว่าได้ผ่านการอบรมแล้ว แต่ปฏิบัติจริงไม่เป็น "หลักสูตรดี อบรมเข้ม เน้นปฏิบัติได้ ต้องที่ PAT. Training & Business"
ประมวลรัษฎากร ฉบับอิเลคโทรนิค โดยกรมสรรพากร....เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้องครบถ้วน
เวปไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อการอ้างอิงเกี่ยวกับการบัญชีและงบการเงิน
เวปไซต์ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เพื่อการอ้างอิงเกี่ยวกับการภาษีอากร
เวปไซต์ สภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อการอ้างอิงของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี


ภาระภาษีของการซื้อ/ดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ทางอินเตอร์เน็ท article

 

สวัสดีครับ สมาชิก Taxthai.com และผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมเวปฯ ทุกท่าน

          เนื่องจากมีกระทู้ถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาภาษี ผ่านเข้ามาทางเวปบอร์ดของเรา จึงขอนำเสนอแก่ทุกท่านเพื่อ เป็นข้อมูล/สาระ อันคาดว่าจะเป็นประโยชน์ในการจัดการทางภาษีของชาวเราทุกท่านครับ

ภาษีสำหรับซื้อ ซอฟท์แวร์จากต่างประเทศ

 

 

 

 

ซึ่งขอตอบประเด็นต่างๆ ของกระทู้นี้ ดังนี้ ครับ

1.1) กรณีซื้อโดยใช้วิธีการดาวโหลดทางอินเตอร์เนต ต้องเสียภาษี อะไรบ้าง (ภาษีนำแข้า , VAT, ภาษีลิขสิทธิ์ ฯลฯ)

          สำหรับการซื้อกรณีของคุณ jarus นี้ ต้องทราบเงื่อนไขในการซื้อขายเพิ่มเติม ว่าเราได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิเด็ดขาดหรือไม่? หรือเป็นเพียงได้สิทธิการใช้เท่านั้น กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของผู้ขายอยู่เช่นเดิม? จึงจะให้คำตอบที่ถูกต้องได้ แต่ขออนุมานจากสภาพความเป็นจริงโดยทั่วไปแล้วกันนะครับ ว่าคงไม่มีใครขายกรรมสิทธิในซอฟท์แวร์ใดซอฟท์แวร์หนึ่งให้เราเพียงเจ้าเดียว ดังนั้นกรณีการซื้อขายของคุณ jarus นี้ก็น่าจะเป็นการซื้อสิทธิในการได้ใช้ซอฟท์แวร์ ไม่ใช่การซื้อขายเด็ดขาดโดยได้กรรมสิทธิ์

          ตามประมวลรัษฎากร การซื้อซอฟท์แวร์ด้วยการดาวน์โหลดทางอินเตอร์เน็ทเช่นกรณีของคุณ jarus นี้ จึงเป็นการใช้บริการที่กระทำในต่างประเทศ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นการนำเข้าบริการมาใช้ในราชอาณาจักร ซึ่งถือว่าเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 วรรคสาม ผู้ขายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ตามมาตรา 82/13

          และเมื่อเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/2 วรรคสาม เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการได้ใช้ซอฟท์แวร์ให้แก่เจ้าของในต่างประเทศผ่านทางอินเตอร์เน็ทนี้ ก็ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) ค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายทุกคราวที่มีการจ่ายเงิน ทั้งนี้หากเจ้าของซอฟท์แวร์ เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย จะต้องถูกหักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ ทั้งนี้เป็นไปตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 ข้อ 3/2 แต่เนื่องจากตามข้อเท็จจริงแห่งกรณีของคุณ jarus นี้ เป็นการซื้อผ่านการดาวน์โหลดทางอินเตอร์เน็ท โดยที่เจ้าของซอฟท์แวร์ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่เป็นการประกอบกิจการในอเมริกาผ่านโลกไซเบอร์อันเข้าถึงได้ทั่วโลก จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 แต่เมื่อไปพิจารณาเกณฑ์ตามมาตรา 50(2) แล้วจะพบว่า การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) ให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ ดังนั้นกรณีของคุณ jarus จึงต้องเป็นไปตามนี้ คือ หักภาษีไว้ร้อยละ 15

          สำหรับภาระภาษีนำเข้าหรืออากรขาเข้านั้น จะต้องเสียก็ต่อเมื่อเป็นรายการสินค้าหรือบริการที่กำหนดไว้ในบัญชีพิกัดอัตราศุลกากรของกรมศุลกากรเท่านั้น หากไม่มีระบุไว้ ก็ไม่มีภาระต้องเสียแต่อย่างใด สำหรับกรณีการนำเข้าหรือดาวน์โหลดซอฟท์แวร์นี้ ไม่มีกำหนดไว้ จึงไม่ต้องเสียอากรขาเข้า

1.1.1) กรณีส่งภาษีให้กรมสรรพากร กรณีดาวโหลด ซอฟท์แวร์มา มีขั้นตอนอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง

ก) การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) มาตรา 83/6 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ในอัตราร้อยละ 7 ของมูลค่าฐานภาษี (มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ ซึ่งหมายความถึง เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน) ซึ่งต้องแปลงให้เป็นเงินไทย ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนตามมาตรา 9 (อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราขาย) หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย)) ปัญหาก็คือ การที่คุณ jarus ดาวน์โหลดซอฟท์แวร์นั้น ผู้ขาย(ในอเมริกา)สนใจภาระต่างๆ ทางภาษีที่เราได้พูดถึงกันมาข้างต้นนี้ไหม? คำตอบคือ No…… เขาจะยอมให้คุณดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ของเขาได้ ก็ต่อเมื่อเขาได้รับเงินครบเต็มจำนวน ไม่มีการหักใดๆ ทั้งสิ้น เผลอๆ เราต้องจ่ายเพิ่ม สำหรับค่าธรรมเนียมในการจ่ายชำระที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) อีกด้วย ใช่ไหมล่ะ ฉะนั้นขอให้เป็นที่เข้าใจตรงกันซะก่อนแต่ต้นเลยนะครับว่า การซื้อสินค้าหรือบริการทางอินเตอร์เน็ท ที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ขายต้องเสียภาษีอย่างนู้น อย่างนี้ แต่ในสภาพทางปฏิบัติทางธุรกิจการค้าที่แท้จริง อาจไม่เป็นเช่นนั้นได้ รัฐไม่สนใจหรอกครับว่าเงินภาษีที่ได้นั้นแท้จริงเป็นเงินของผู้ซื้อหรือผู้ขาย ขอให้ได้ภาษีครบ มีการดำเนินการทางภาษีถูกต้อง เป็นอันจบ สรุปง่ายๆ คือเมื่อผู้ขายไม่ยอมจ่ายหรือให้หักเงินใดๆ ทั้งสิ้น แต่คุณ jarus ยังอยากซื้อของเขาอยู่ คุณ jarus ก็จำต้องยอมรับภาระค่าภาษีต่างๆ นั้นเองครับ มิเช่นนั้นความผิดทางภาษีก็จะยังคงตามติดตัวคุณ jarus ไปไม่จบสิ้น และเพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย ขอสมมติว่า ซอฟท์แวร์ที่คุณ jarus ดาวน์โหลดมานั้นมี ราคา US$100 และต้องจ่ายค่า Bank fee แทนผู้ขายอีก 10% และทำการจ่ายเงินและดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ในวันที่ 2 กันยายน 2552 เวลา 09.00 น. ในการนี้เลือกใช้ rate ของ ธนาคารไทยพาณิชย์อันสอดคล้องกับรายการที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมต่างประเทศอื่นๆ ที่บริษัทของคุณ jarus ใช้อยู่ตามปกติ คุณ jarus ต้องดำเนินการตามนี้ครับ

 => คุณ jarus ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยการยื่นแบบ ภ.พ.36 โดยกรอกยอด จำนวนเงินที่จ่าย” (มูลค่าฐานภาษี) เป็นเงิน 3,759.80 บาท (มาจาก US$110 x 34.18)

=> และกรอก จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่ง” (VAT) เป็นจำนวนเงิน 263.19 บาท (มาจาก 3,759.80 x 7%)

โดยต้องยื่นแบบและนำส่งเงินภาษีจำนวน 263.19 บาท แก่กรมสรรพากร ภายในวันที่ 7 ตุลาคม 2552 เมื่อได้รับใบเสร็จจากกรมสรรพากรมาแล้ว คุณ jarus สามารถนำหลักฐานใบเสร็จนี้ลงในรายงานภาษีซื้อโดยถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 คือมีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษีที่มีการยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) (เดือนตุลาคม 2552)

ข) การหักภาษี ณ ที่จ่าย คุณ jarus ต้องดำเนินการดังนี้

=> คุณ jarus ต้องนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยการยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 โดยกรอกยอด เงินได้พึงประเมินที่จ่ายเป็นเงิน 3,759.80 บาท (มาจาก US$110 x 34.18)

=> และกรอกยอด เงินภาษีที่นำส่งในอัตราร้อยละเป็นจำนวนเงิน 563.97 บาท (มาจาก 3,759.80 x 15%) และต้องยื่นแบบพร้อมนำส่งเงินภาษีจำนวน 563.97 บาท แก่กรมสรรพากร ภายในวันที่ 7 ตุลาคม 2552 ด้วยเช่นกัน

1.2) เหมือนกรณี 1.1) แต่ซอฟท์แวร์ ถูกบรรจุอยู่ใน CD เสียภาษีเหมือนกับข้อ 1.1 หรือไม่

ก็เหมือนกันไงครับ ต่างกันตรงไหน? ซอฟแวร์ที่ดาวน์โหลดผ่านอินเตอร์เน็ท กับที่บรรจุใน CD ก็ซอฟท์แวร์เดียวกัน ราคาก็ (อาจ) เท่ากัน ได้มาเพียงสิทธิในการใช้เหมือนกัน ไม่ได้กรรมสิทธิ์มาอย่างเด็ดขาด ถือเป็นการนำเข้าบริการมาใช้ในประเทศเหมือนกัน ต่างกันเพียงวิธีการนำเข้ามา ว่าจะดาวน์โหลดผ่านโลกไซเบอร์ หรือนำเข้ามาในรูปแผ่น CD ดังนั้น ภาระทางภาษีและวิธีดำเนินการจึงเหมือนกันกับกรณี 1.1) ครับ

2) ทราบมาว่ายังไม่มีกฏหมายรองรับให้กรมศุลกากร เก็บภาษีจากการดาวโหลดซอฟท์แวร์ บริษัทต้องทำอย่างไร เื่พื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดการเก็บย้อนลัง หรือปรับย้อนหลัง ถ้าีมีกฏหมายออกมารองรับ

กรมศุลฯ ท่านคงไม่ต้องรีบร้อน ดิ้นรน ออกกฎหมายมารองรับหรอกครับ เพราะจากกฎหมายตามที่ผมอ้างอิงมาให้ก็เพียงพอที่จะรองรับต่อกรณีนี้ได้ เก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว หากจะมีเพิ่มก็มีเพียงประเด็นว่ากรมศุลฯ ท่านจะเรียกเก็บอากรขาเข้าหรือไม่ในอนาคต แต่ถ้าท่านมีวิสัยทัศน์ในการส่งเสริม การกระจายหรือถ่ายทอดซึ่งเทคโนโลยีหรือซอฟท์แวร์ดีๆ จากต่างประเทศ ท่านก็คงไม่คิดจะเก็บหรอกครับ อีกประการ WTO ก็บีบท่านเรื่องการกีดกันทางการค้าอย่างต่อเนื่อง จนท่านแทบจะไม่เหลือรายการสินค้าให้เก็บอากรขาเข้าสักเท่าไหร่แล้ว ดังนั้น ก็ให้ท่านดำเนินการตามข้างต้นอย่างครบถ้วนแล้วก็ไม่ต้องกังวลใดๆ ในอนาคตอีกครับ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านทุกท่านนะครับ

Webmaster-Taxthai.com




บทความและข่าวสารภาษี

น้ำท่วม...น้ำท่วม...น้ำท่วม....มหาอุทกภัย (กับภาระทางภาษีอากร) article
ภาระภาษีของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์/รับเหมาก่อสร้าง article
ฟ้าผ่า!!! เมื่อโดนภาษีเงินรางวัล/ชิงโชค-ย้อนหลัง article
ไม่แน่ใจว่าจะยื่น ภพ.36 กรณีใดบ้างค่ะ??? article
ภาษีซื้อค่าอาหารของกิจการรับจัดอบรมสัมมนา article
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทางออกหนึ่งที่น่าสนใจในการบริหารส่วนกลาง article
ประเด็นเด็ดที่นายกฯสมัคร แพ้คดี คือ เจตนารมณ์ของกฎหมายที่มีระดับศักดิ์ต่างกันในการตีความหนึ่ง และหลักฐานทางภาษีอากรจากแบบนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอีกประการหนึ่ง article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.