ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ข้อมูลอ้างอิง
dot
bulletกฎหมายอ้างอิงใน-ทัศนะฯ/ข่าวด่วนฯ
dot
ต้องการรับข่าวสารทาง E-mail โปรดกรอก Address

dot


หลักสูตรอบรม Update การภาษีอากรและบัญชี นับชั่วโมงได้ครบถ้วนสำหรับ TA/สำนักงานบัญชีตัวแทน พ่วงด้วยในส่วนของ CPA และผู้ทำบัญชีเก็บชั่วโมงบัญชีได้ 6 อื่นๆ 7 รวม 13 ชั่วโมง (รวมจรรยาบรรณ 1 ชั่วโมง)
ให้การอบรม/สัมมนาที่เข้มข้น และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่เพียงถือว่าได้ผ่านการอบรมแล้ว แต่ปฏิบัติจริงไม่เป็น "หลักสูตรดี อบรมเข้ม เน้นปฏิบัติได้ ต้องที่ PAT. Training & Business"
ประมวลรัษฎากร ฉบับอิเลคโทรนิค โดยกรมสรรพากร....เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้องครบถ้วน
เวปไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อการอ้างอิงเกี่ยวกับการบัญชีและงบการเงิน
เวปไซต์ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เพื่อการอ้างอิงเกี่ยวกับการภาษีอากร
เวปไซต์ สภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อการอ้างอิงของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี


ปัญหางบการเงินของ-หจก. article

ผมขายวัสดุก่อสร้างในนาม หจก. ทุนห้าง 200,000 บาท ตอนจดทะเบียน คนรับจดให้แจ้งว่าลงทุนเต็มเพราะพาณิชย์ไม่ให้ค้างค่าหุ้น แต่ที่จริงลงเงินสดเข้า Book bank แค่ 50,000 ผู้ตรวจสอบให้ตั้งดอกเบี้ยค้างรับที่ 7.5% ต่อปี ขอปรึกษาว่าถูกต้องไหมครับ? ควรตั้งที่เท่าไร? ไม่ทำตามผู้ตรวจสอบได้ไหมครับ?

ผู้ตั้งกระทู้พ่อค้าไม่รู้ภาษี:: วันที่ลงประกาศ 2009-01-14 15:50:13
 เรียน    คุณ “พ่อค้าไม่รู้ภาษี”
 
ก่อนอื่นต้องขออภัยที่เข้ามาตอบคำถามคุณช้าไปหน่อย แต่หวังว่าจะยังไม่ช้าเกินไปนะครับ
  • ประเด็นแรก การถือว่าหุ้นส่วนกู้ยืมเงินห้างฯ ไป เป็นไปตามสมมติฐานและหลักเกณฑ์การจดทะเบียนนิติบุคคลครับ ว่าคุณต้องลงทุนจริง เมื่อระบุไว้ว่าได้ลงหุ้นเต็มมูลค่าครบถ้วนแล้ว ในงบการเงินก็ต้องแสดงว่ามีเงินอยู่จริง หากผู้ตรวจสอบสอบทานแล้วไม่มีเงินอยู่จริง ก็ถือว่าท่านกู้ยืมเงินนั้นไปครับ
 
  • ประเด็นที่สอง ความถูกต้องของอัตราดอกเบี้ยในทางการบัญชีและงบการเงิน การทำงบการเงินต้องยึด GAAP หรือ หลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป ซึ่งมีองค์ประกอบมากมายพอสมควร แต่เอาโดยเนื้อๆ ที่ว่าด้วยเรื่องดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมนั้น
1.      หากโดยเจตนาไม่มีความต้องการคิดเอาดอกเบี้ยจากกันจริงๆ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งดอกเบี้ยค้างรับระหว่างกันครับ
2.      แต่หากมีเจตนาคิดเอาดอกเบี้ยจากกัน ก็ต้องเป็นราคายุติธรรมครับ นั่นคือถ้าห้างฯ มีต้นทุนของเงินที่จะให้กู้อยู่เท่าไร จะนำมาให้หุ้นส่วนกู้ยืมไป ก็ต้องคิดดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าต้นทุนของห้างฯ ครับ
·         หากห้างฯ มีภาระหนี้เงินกู้จากสถาบันการเงิน เช่น มีภาระเงินเบิกเกินบัญชี (O/D) ที่อัตราดอกเบี้ย 6.75% ต่อปี ก็ต้องตั้งดอกเบี้ยค้างรับกันที่ไม่น้อยกว่านี้ครับ
·         แต่ถ้าหากห้างฯ ไม่มีภาระสินเชื่อเลย หากได้เงินมาจากการค้าขายหรือทางอื่นใด ก็จะจัดเก็บเข้าบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งได้ดอกเบี้ยรับที่อัตรา 0.75% ต่อปี ก็ต้องคิดดอกเบี้ยระหว่างกันไม่น้อยกว่านี้เช่นกันครับ
ที่กล่าวมานี้เป็นความถูกต้องตาม GAAP นะครับ
 
  • ประเด็นที่สาม ความถูกต้องทางภาษีอากร หรือตามประมวลรัษฎากร ห้างฯ ให้หุ้นส่วนกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ยไม่ได้เด็ดขาดครับ ต้องคิดดอกเบี้ยเสมอ (เพราะห้างฯ เป็นนิติบุคคลที่มุ่งหากำไร ไม่ใช่การกุศล ไม่รู้จักคำว่าน้ำใจหรือบุญคุณใดๆ ทั้งสิ้นครับ) แต่อัตราดอกเบี้ยที่คิดกันนี้ต้องไม่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันควร (ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(4)) ปัญหาของบ้านเราก็คือ ไอ้คำว่า “เหตุอันควร” นี่หล่ะครับ เราต้องยึดความหมายอย่างแคบตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้นะครับ จะใช้มุมมองหรือนิยามความเหมาะสมแบบทั่วๆ ไปไม่ได้ เพราะกรมสรรพากรเป็นผู้ใช้ดุลพินิจตามประมวลรัษฎากรแต่ผู้เดียว พอสรุปแนวทางของความถูกต้องตามควรของกรมสรรพากรได้ ดังนี้
    1. กรณีที่มีการตกลงกันไว้อย่างชัดแจ้ง(ทำสัญญากู้ยืมระหว่างกัน เป็นต้น) ว่าจะคิดดอกเบี้ยกันที่อัตราเท่าใด ก็ให้คิดตามนั้นแต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่กิจการมีต้นทุนอยู่ แม้ห้างฯ จะไม่มีต้นทุนสินเชื่อ ก็ยังคงบังคับต้องใช้อ้างอิงตามอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของสถาบันการเงิน
    2. กรณีที่ไม่มีการตกลงกันไว้ ให้ยึดแนวคำพิพากษาศาลฎกีกาในคดีแพ่งอันเกี่ยวเนื่องกับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1122 ประกอบกับ มาตรา 7 กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าต้องไม่ต่ำกว่า 7.5% ต่อปี (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 5857/2549) แต่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามประมวลรัษฎากร-มาตรา 91/2(5) เนื่องจากไม่ได้ประกอบกิจการปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เหตุเพราะมีการให้กู้เพียงคราวเดียวอันสืบเนื่องจากการเพิ่มทุนหรือเป็นเงินทุน (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 687/2550) แสดงว่าผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีของคุณ “พ่อค้าไม่รู้ภาษี” ยึดตามแนวของข้อนี้
ดังนั้น ถ้าจะให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่กรมสรรพากรกำหนด หรือมุ่งตอบรับกับด้านภาษีอากร คุณ “พ่อค้าไม่รู้ภาษี” อาจเลือกทำตามที่ผู้ตรวจสอบฯ บอกมาครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าห้างฯ จะหลุดพ้นจากปัญหาภาษีในดอกเบี้ยเงินกู้ 100% นะครับ เพระอย่างที่บอกดุลพินิจ ก็คือดุลพินิจ เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจประเมินภาษีอากร อาจเห็นว่า “ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันควร” ก็ได้
  • ประเด็นที่สี่ คำถามที่ว่าควรตั้งที่เท่าไร? และไม่ทำตามผู้ตรวจสอบฯ ได้ไหม?คำตอบแยกได้เป็น 2 ทาง แล้วแต่ว่าคุณ “พ่อค้าไม่รู้ภาษี” จะทักท้วงหรือต่อรองต่อผู้ตรวจสอบฯ ของห้างฯ ได้มากน้อยขนาดไหน (โดยที่ไม่ได้เป็นการละเมิดความเป็นอิสระในการทำงานของผู้ตรวจสอบฯ แต่อย่างใดนะครับ)
1.      ยืนยันต่อผู้ตรวจสอบฯ ไปว่าจะขอยึดตามหลัก GAAP ในการไม่ตั้งดอกเบี้ย(หากไม่มีความต้องการเก็บจากกันจริง) หรือคิดดอกเบี้ยที่อัตรา 0.75% ต่อปี(กรณีห้างฯ ไม่มีต้นทุนสินเชื่อและเงินของห้างฯ เก็บสะสมไว้ในบัญชีออมทรัพย์) หรือคิดดอกเบี้ยที่อัตรา 6.75% (ในกรณีสมมติว่าห้างฯ มีต้นทุนสินเชื่อที่ดอกเบี้ยอัตรานี้) โดยมีเจตนา ที่จะให้งบการเงินเป็นไปตามหลัก GAAP ในส่วนของภาระทางภาษีอากรในภายหน้า จะขอรอรับการประเมินหรือยื่นปรับปรุงแบบนำส่งภาษีต่อไป นั่นคือจะไม่ทำตามที่ผู้ตรวจสอบฯ แนะนำ
2.      ก้มหน้าก้มตาทำตามที่ผู้ตรวจสอบฯ ของห้างฯ แนะนำครับ ก็ยอมจ่ายภาษีกำไรสุทธิเพิ่ม อันเนื่องมาจากห้างฯ มีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ทั้งที่โดยเจตนาของท่าน ไม่เคยคิดเลย ว่าตั้งห้างขึ้นมาทำมาค้าขายแล้ว ยังต้องถูกห้างคิดดอกเบี้ยอีก เฮ้อ! อย่างนี้น่าจะจดทะเบียนห้างฯ ด้วยเงินสดที่พร้อมจะลงทุนจริงๆ แล้วค่อยเพิ่มทุนภายหลังเมื่อมีเงินพร้อมนะ แต่จะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ก็ต้องเสียค่าจ้างจดทะเบียนอีกซินะ นี่หล่ะครับ ต้นทุนในการทำธุรกิจ ที่ผู้ประกอบการหลายๆ ท่านไม่ได้นึกถึง ทั้ง ภาษี ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าทำบัญชี ค่าตรวจสอบบัญชี จิปาถะ นึกว่าจะมีแต่ต้นทุนขายสินค้า/บริการโดยตรง พอที่จะเหลือกำไรคุ้มค่าเหนื่อย เผลอๆ อาจขาดทุน โดยไม่เหลืออะไรเลย เหนื่อยฟรี!!!



บทความและข่าวสารบัญชี

ความตลกที่ขำไม่ออก ในวิชาชีพบัญชี เมื่อเจ้าหน้าที่ธนาคารถูกนักบัญชี “อำ” article
เงินกู้ยืมกรรมการในงบการเงิน article
ข้อมูลน้อยนิดคิดอะไรได้บ้าง? article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.