|
ข้อมูลน้อยนิดคิดอะไรได้บ้าง? 
การวิเคราะห์กิจการจากข้อมูลงบการเงินที่ทราบเพียงบางส่วน
วันนี้ผู้เขียนได้รับกระดาษมาหนึ่งแผ่นจากน้องคนหนึ่งผ่านมาทาง ภรรยาของผู้เขียน(อ้าวเลยรู้เลยว่ามีเมียแล้ว) น้องคนนั้นเธออยากทราบว่าหากมีข้อมูลเกี่ยวกับกิจการแห่งหนึ่ง อันได้มาจากข้อมูลอันเปิดเผยแก่ประชาชนที่สนใจโดยทั่วไป แน่นอนข้อมูลลักษณะนี้ย่อมขาดความสมบูรณ์หรือมีรายละเอียดของข้อมูลน้อย เว้นแต่หากเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการต่างๆ นั้นก็จะมีค่อนข้างมากเพียงพอแก่การตัดสินใจของผู้สนใจลงทุนได้ในระดับหนึ่ง(ย้ำในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าต้องการในระดับเทพต้องค้นคว้าและวิเคราะห์เพิ่มเติมด้วยความชำนาญการเอาเองนะ) เมื่อบริษัทที่น้องเธอสนใจนี้อยู่นอกตลาดสด เอ๊ย! ตลาดหลักทรัพย์ฯ ข้อมูลที่เผยแพร่อันได้มาจากเวปไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า(www.dbd.go.th) จึงมีเพียงเท่าที่ปรากฏแก่ผมเพียงกระดาษแผ่นเดียวดังแสดงไว้ต่อไปนี้
เปรียบเทียบงบดุล (หน่วย : บาท)
|
31 ธ.ค. 49
|
31 ธ.ค. 48
|
สินทรัพย์
|
|
|
ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับสุทธิ
|
n.a.
|
n.a.
|
สินค้าคงเหลือ
|
222,000,000
|
221,000,000
|
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
|
294,000,000
|
290,000,000
|
ที่ดินอาคารและอุปกรณ์(สุทธิ)
|
2,600,000
|
600,000
|
รวมสินทรัพย์
|
297,000,000
|
291,000,000
|
หนี้สินและทุน
|
|
|
เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย
|
n.a.
|
n.a.
|
รวมหนี้สินหมุนเวียน
|
10,000,000
|
1,000,000
|
รวมหนี้สิน
|
10,000,000
|
1,000,000
|
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น
|
287,000,000
|
290,000,000
|
ทุนจดทะเบียน
|
300,000,000.00
|
300,000,000.00
|
เปรียบเทียบงบกำไรขาดทุน (หน่วย : บาท)
|
31 ธ.ค. 49
|
31 ธ.ค. 48
|
รายได้หลัก
|
7,000,000
|
n.a.
|
รวมรายได้
|
9,000,000
|
1,500,000
|
ต้นทุนขาย
|
5,000,000
|
n.a.
|
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
|
9,000,000
|
7,000,000
|
ดอกเบี้ยจ่าย
|
n.a.
|
n.a.
|
ภาษีเงินได้
|
n.a.
|
n.a.
|
รวมรายจ่าย
|
14,000,000
|
9,000,000
|
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ
|
(5,000,000)
|
(7,500,000)
|
กำไรต่อหุ้น (บาท)
|
(1.67)
|
(2.50)
|
จากข้อมูลข้างต้นก็พอจะวิเคราะห์ให้ฟังได้ในสไตล์ของผู้เขียนเองนะ ก่อนอื่นใดก็ให้ลองถอดรหัสข้อมูลที่ขาดหายไปจากข้อมูลที่มี ก็จะพอทราบได้อย่างเช่น
1. แม้จะไม่ทราบได้ถึงยอดลูกหนี้และตั๋วเงินรับสุทธิของกิจการ แต่ทราบได้ว่ากิจการนี้ มีสินทรัพย์หมุนเวียนซึ่งไม่รวมสินค้าคงเหลือ อันอาจเรียกได้ว่าเป็นสินทรัพย์ที่หมุนเร็ว(แปรสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว ไม่ต้องใช้เวลาในการขายนานเช่นสินค้าคงเหลือ) ในปี 49 อยู่เป็นเงิน 72 ล้านบาท(สินทรัพย์หมุนเวียนรวม 294 ล้านลบด้วยสินค้าคงเหลือ 222 ล้าน) และปี 48 เป็นเงิน 69 ล้านบาท(สินทรัพย์หมุนเวียนรวม 290 ล้านลบด้วยสินค้าคงเหลือ 221 ล้าน)
2. กิจการมีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นนอกเหนือจากส่วนที่เป็นที่ดินอาคารและอุปกรณ์สุทธิ ในปี 49 เป็นเงิน 400,000 บาท(สินทรัพย์รวม 297 ล้านลบด้วยที่ดินอาคารและอุปกรณ์สุทธิ 2,600,000 แล้วลบด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนรวม 294 ล้าน) และปี 48 เป็นเงิน 400,000 บาท(สินทรัพย์รวม 291 ล้านลบด้วยที่ดินอาคารและอุปกรณ์สุทธิ 600,000 แล้วลบด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนรวม 290 ล้าน)
3. กิจการมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท(อนุมานว่าเป็นทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วนะ) แต่เหตุไฉน ส่วนของผู้ถือหุ้นจึงมีอยู่ไม่ถึง 300 ล้านบาทหล่ะ นั่นคืออะไร? ก็คือว่ากิจการมีผลขาดทุนสะสมนะซิ เลยเป็นเหตุอันกินทุนจดทะเบียนนั้นให้แสดงออกมาว่าส่วนของผู้ถือหุ้นมีคงเหลืออยู่ไม่เต็ม 300 ล้านบาท แล้วขาดทุนสะสมเท่าไรหล่ะ ในปี 49 กิจการมีผลขาดทุนสะสมอยู่ 13 ล้านบาท(ทุน 300 ล้านลบด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น 287 ล้าน) และปี 48 มีผลขาดทุนสะสมอยู่ 10 ล้านบาท(ทุน 300 ล้านลบด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น 290 ล้าน)
4. เป็นการต่อเนื่องลองสอบยันยอดผลขาดทุนสะสมที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงดูซิว่าตรงกับยอดกำไร(ขาดทุน)สุทธิประจำปีหรือเปล่าน๊า? จากข้อ 3.ขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น 3 ล้านบาท(ขาดทุนสะสมปี 49 จำนวน 13 ล้านลบด้วยขาดทุนสะสมปี 48 จำนวน 10 ล้าน) แต่เมื่อไปดูที่งบกำไรขาดทุนพบว่าในปี 49 กิจการมีผลขาดทุนสุทธิ 5 ล้านบาท เหตุไฉนขาดทุนสะสมจึงขาดทุนเพิ่มขึ้นเพียง 3 ล้านบาทหล่ะ ทำไมไม่ขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท ผลขาดทุนสะสมลดลงหายไปไหน 2 ล้านบาทถ้วนนะ มีปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลทำให้ขาดทุนสะสมลดลง(หรืออาจกล่าวได้ว่าทำให้กำไรสะสมเพิ่มขึ้นนั่นเอง) ขอสมมติในเบื้องต้นไว้ก่อนตามความเห็นส่วนตัวนะครับ ว่าในปี 49 นี้กิจการน่าจะมีการปรับปรุงยอดผลกำไร(ขาดทุน)สะสมยกมาจากปี 48 เป็นเงิน 2 ล้านบาทถ้วน(ปรับปรุงผลกำไรของงวดบัญชีปีก่อนๆ ที่ผ่านมาแล้ว)
5. กิจการมีรายได้อื่นซึ่งไม่ใช่รายได้หลักในปี 49 เป็นเงิน 2 ล้านบาท(รายได้รวม 9 ล้านลบด้วยรายได้หลัก 7 ล้าน) ส่วนในปี 48 ยอดรวมรายได้ก็คือรายได้อื่นที่ไม่ใช่รายได้หลักทั้งจำนวนนั่นเอง เนื่องจากในการส่งข้อมูลต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้านั้น บังคับให้กิจการต้องระบุรายได้หลัก เมื่อไม่ได้ระบุแยกออกมาให้เห็น จึงอนุมานได้ว่าเป็นรายได้อื่นที่ไม่ใช่รายได้หลัก 1,500,000 บาท ผลต่อเนื่องเมื่อในปี 48 ไม่มีรายได้หลักดังนั้นตามหลักการก็จึงไม่ควรมีต้นทุนขายด้วย
6. เนื่องด้วยกิจการมีผลขาดทุนสุทธิประจำปี และยังมีผลขาดทุนสะสมทั้งในปี 49 และปี 48 ดังนั้นจึงอนุมานได้ว่ากิจการไม่ควรมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล ยอดเงินภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุนของกิจการทั้งปี 49 และปี 48 จึงไม่มี(เป็นศูนย์)
7. ผลต่างในยอดรายจ่ายรวมของกิจการในแต่ละปีกับต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ก็คือค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของกิจการนั่นเอง ดังนั้นในปี 49 กิจการไม่มีดอกเบี้ยจ่าย (รายจ่ายรวม 14 ล้านลบด้วยต้นทุนขาย 5 ล้านแล้วลบด้วยค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 9 ล้านคงเหลือเท่ากับศูนย์) และปี 48 กิจการมีดอกเบี้ยจ่ายเท่ากับ 2 ล้านบาท(รายจ่ายรวม 9 ล้านลบด้วยค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 7 ล้าน)
8. ข้อสังเกตเพิ่มเติมประกอบกับที่ได้ว่าไว้ในข้อ 4. นะครับจะเห็นว่ายอดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยในปี 49 ไม่มีหรือลดลงไปจากปี 48 จำนวน 2 ล้านบาทบังเอิญเกินไปหรือเปล่าที่เท่ากันพอดีกับผลขาดทุนสะสมที่ขาดทุนน้อยลงไป 2 ล้านบาท ซึ่งผู้เขียนได้สมมติฐานไว้แล้วว่าน่าจะมีการปรับปรุงยอดขาดทุนสะสมยกมา ตอนนี้จะชัดเจนขึ้นว่าฟันธงได้เลยว่ากิจการมีการปรับปรุงยอดขาดทุนสะสมยกมาจากปี 48 ในงบบัญชีปี 49 เนื่องจากมีการคิดดอกเบี้ยจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นทุนของกิจการไว้ 2 ล้านบาทในปี 48 อันเป็นการต้องห้ามทั้งทางหลักบัญชีและหลักภาษี ค่าดอกเบี้ยจ่ายในปี 48 จำนวน 2 ล้านบาทนั้นไม่ใช่ค่าดอกเบี้ยของหนี้สินหมุนเวียนจำนวน 10 ล้านบาทแน่ๆ ไม่เช่นนั้นจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในโลกแล้วหล่ะ เมื่อเงินต้น 10 ล้านต้องเสียดอกเบี้ย 2 ล้านบาท เมื่อผิดหลักบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องบังคับให้กิจการปรับปรุงยอดขาดทุนสะสมให้ถูกต้องเสียใหม่ ประหนึ่งว่าในปี 48 ไม่มีดอกเบี้ยจำนวนนี้เกิดขึ้น แต่อย่าเข้าใจผิดนะครับทางบัญชีเราจะแก้ที่ยอดยกมาของบัญชีกำไร(ขาดทุน)สะสม เราไม่ไปแก้งบใหม่แล้วยื่นงบใหม่นะครับ แต่ถ้าจะวิเคราะห์ให้แม่นยำ ต้องรู้ข้อมูลนี้นะครับ หากเรามีงบการเงินแบบเต็มรูปของกิจการนี้อยู่ในมือ เราจะเห็นข้อมูลนี้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินของปี 49 เปิดเผยไว้ให้ทราบแน่ๆ ว่ามีการปรับปรุงเพราะเหตุใด
ไม่ต้องคิดมากจนเกินไปนะครับ ว่าผมมีแต่อนุมาน อนุมาน แล้วก็อนุมาน สมมติ สมมติ แล้วก็สมมติ หลักการวิเคราะห์นั้น เราต้องการเสาะหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ละเอียดมากขึ้นเท่าที่จะพิจารณาได้จากร่องรอยที่มีอยู่ มิได้ต้องการความถูกต้อง 100% ว่ากิจการได้บันทึกข้อมูลที่เราพบเพิ่มเติมมาได้นั้นในบัญชีหรือรายการเหมือนกับที่เราอนุมานหรือสมมติหรือไม่ เพราะเราไม่อาจเข้าถึงข้อมูลภายในของกิจการได้ เราเพียงแต่ให้เห็นภาพชัดมากขึ้น เห็นจิ๊กซอว์ที่สมบูรณ์กว่าที่เป็นอยู่ในเบื้องต้นที่ได้ข้อมูลมา เปรียบได้กับเราเห็นแขกเดินมาแต่ไกลๆ ในฐานะเจ้าบ้านที่ดีเราก็อยากเตรียมเครื่องดื่มไว้ต้อนรับ แต่เนื่องจากทัศนวิสัยไม่ดี จึงไม่รู้ว่าแขกท่านนั้นเป็นหญิงหรือชาย จะเตรียมวิสกี้หรือน้ำส้มให้แขกดี แต่หากว่าเราหาข้อมูลได้เพิ่มเติมมากขึ้นพอที่จะทราบได้เลาๆ ว่าแขกที่กำลังมานั้นผมยาวสลวยและนุ่งกระโปงมา(แม้จะไม่รู้ว่าผมสีอะไร กระโปงทรงไหน ยี่ห้ออะไร สีอะไร) เราก็พอสรุปเอาได้ว่าน่าจะเป็นผู้หญิง งั้นก็ต้องเตรียมน้ำส้มไว้ให้ แต่ก็อาจพลาดได้ มาใกล้ๆ อาจกลายเป็นผู้ฉิงไป ชอบวิสกี้มากกว่า การวิเคราะห์ก็เช่นกัน อาจพลาดได้ แต่มีประโยชน์ที่ควรต้องทำนะ
จากผลที่ได้ทั้ง 8 ข้อข้างต้น เราก็สามารถปรับปรุงข้อมูลที่ได้มาให้ชัดเจนมากขึ้น และในขณะเดียวกันก็ขอหาผลต่างในแต่ละรายการไปพร้อมกันเลย เพื่อเป็นการเปรียบเทียบระหว่างทั้งสองปี ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขั้นหรือลดลงอย่างไร ในแต่ละรายการ ตามตารางข้อมูลที่ได้ทำขึ้นใหม่ข้างล่างนี้ (นี่ยังไม่เริ่มใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ มาทำการวิเคราะห์เลยนะ)
เปรียบเทียบงบดุล (หน่วย : บาท)
|
31 ธ.ค. 49
|
31 ธ.ค. 48
|
ผลต่าง
|
สินทรัพย์
|
|
|
|
สินทรัพย์หมุนเร็ว
|
72,000,000
|
69,000,000
|
3,000,000
|
สินค้าคงเหลือ
|
222,000,000
|
221,000,000
|
1,000,000
|
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
|
294,000,000
|
290,000,000
|
4,000,000
|
ที่ดินอาคารและอุปกรณ์(สุทธิ)
|
2,600,000
|
600,000
|
2,000,000
|
สินทรัพย์ที่ไม่หมุนเวียนอื่นๆ
|
400,000
|
400,000
|
-
|
รวมสินทรัพย์
|
297,000,000
|
291,000,000
|
6,000,000
|
หนี้สินและทุน
|
|
|
|
เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย
|
n.a.
|
n.a.
|
n.a.
|
รวมหนี้สินหมุนเวียน
|
10,000,000
|
1,000,000
|
9,000,000
|
รวมหนี้สิน
|
10,000,000
|
1,000,000
|
9,000,000
|
ทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว
|
300,000,000.00
|
300,000,000.00
|
-
|
กำไร(ขาดทุน)สะสม
|
(13,000,000)
|
(10,000,000)
|
(3,000,000)
|
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น
|
287,000,000
|
290,000,000
|
(3,000,000)
|
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
|
297,000,000
|
291,000,000
|
6,000,000
|
ทุนจดทะเบียน
|
300,000,000.00
|
300,000,000.00
|
-
|
เปรียบเทียบงบกำไรขาดทุน (หน่วย : บาท)
|
31 ธ.ค. 49
|
31 ธ.ค. 48
|
ผลต่าง
|
รายได้หลัก
|
7,000,000
|
-
|
7,000,000
|
รายได้อื่น
|
2,000,000
|
|
500,000
|
รวมรายได้
|
|
1,500,000
|
7,500,000
|
ต้นทุนขาย
|
5,000,000
|
-
|
5,000,000
|
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
|
9,000,000
|
|
2,000,000
|
ดอกเบี้ยจ่าย
|
-
|
2,000,000
|
(2,000,000)
|
ภาษีเงินได้
|
-
|
-
|
-
|
รวมรายจ่าย
|
14,000,000
|
9,000,000
|
5,000,000
|
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ
|
|
|
2,500,000
|
กำไรต่อหุ้น (บาท)
|
|
|
0.83
|
จำนวนหุ้นเฉลี่ย (โดยประมาณ)
|
3 ล้านหุ้น
|
3 ล้านหุ้น
|
-
|
จากตารางข้อมูลที่ได้จะพอเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงในฐานะทางการเงินและกิจกรรมของกิจการได้ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเปรียบเทียบกันสองปี แต่เพื่อให้ชัดเจนและเป็นที่คุ้นเคยกันดี เราชอบที่จะดูการเปลี่ยนแปลงเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ ก็จะปรับปรุงตารางทั้งสองได้ดังนี้
เปรียบเทียบงบดุล (หน่วย : บาท)
|
31 ธ.ค. 49
|
31 ธ.ค. 48
|
ผลต่าง(บาท)
|
ผลต่าง(%)
|
สินทรัพย์
|
|
|
|
|
สินทรัพย์หมุนเร็ว
|
72,000,000
|
69,000,000
|
3,000,000
|
4.35
|
สินค้าคงเหลือ
|
222,000,000
|
221,000,000
|
1,000,000
|
0.45
|
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
|
294,000,000
|
290,000,000
|
4,000,000
|
1.38
|
ที่ดินอาคารและอุปกรณ์(สุทธิ)
|
2,600,000
|
600,000
|
2,000,000
|
333.33
|
สินทรัพย์ที่ไม่หมุนเวียนอื่นๆ
|
400,000
|
400,000
|
-
|
-
|
รวมสินทรัพย์
|
297,000,000
|
291,000,000
|
6,000,000
|
2.06
|
เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย
|
n.a.
|
n.a.
|
n.a.
|
n.a.
|
รวมหนี้สินหมุนเวียน
|
10,000,000
|
1,000,000
|
9,000,000
|
900.00
|
รวมหนี้สิน
|
10,000,000
|
1,000,000
|
9,000,000
|
900.00
|
ทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว
|
300,000,000
|
300,000,000
|
-
|
-
|
กำไร(ขาดทุน)สะสม
|
(13,000,000)
|
(10,000,000)
|
(3,000,000)
|
(30.00)
|
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น
|
287,000,000
|
290,000,000
|
(3,000,000)
|
(1.03)
|
รวมหนี้สิน / ส่วนของผู้ถือหุ้น
|
297,000,000
|
291,000,000
|
6,000,000
|
2.06
|
ทุนจดทะเบียน
|
300,000,000
|
300,000,000
|
-
|
-
|
เปรียบเทียบงบกำไรขาดทุน (หน่วย : บาท)
|
31 ธ.ค. 49
|
31 ธ.ค. 48
|
ผลต่าง(บาท)
|
ผลต่าง(%)
|
รายได้หลัก
|
7,000,000
|
-
|
7,000,000
|
100.00
|
รายได้อื่น
|
2,000,000
|
1,500,000
|
500,000
|
33.33
|
รวมรายได้
|
9,000,000
|
1,500,000
|
7,500,000
|
500.00
|
ต้นทุนขาย
|
5,000,000
|
-
|
5,000,000
|
100.00
|
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
|
9,000,000
|
7,000,000
|
2,000,000
|
28.57
|
ดอกเบี้ยจ่าย
|
-
|
2,000,000
|
(2,000,000)
|
(100.00)
|
ภาษีเงินได้
|
-
|
-
|
-
|
-
|
รวมรายจ่าย
|
14,000,000
|
9,000,000
|
5,000,000
|
55.56
|
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ
|
(5,000,000)
|
(7,500,000)
|
2,500,000
|
(33.33)
|
กำไรต่อหุ้น (บาท)
|
(1.67)
|
(2.50)
|
0.83
|
33.20
|
จำนวนหุ้นเฉลี่ย (โดยประมาณ)
|
3 ล้านหุ้น
|
3 ล้านหุ้น
|
-
|
-
|
จะเห็นได้ว่าจากตอนต้นมาจนถึงบัดเดี๋ยวนี้ ผู้เขียนใช้เพียงความรู้ทางพีชคณิต คือการบวก การลบ การคูณ และการหาร เท่านั้นเองนะ ยังไม่ได้ใช้ความรู้ระดับที่สูงกว่านี้แต่อย่างใด ณ จุดนี้เราก็พอที่จะวิเคราะห์กิจการนี้ได้บ้างแล้วนะ ซึ่งจะสามารถตอบคำถามหรือฟันธงได้บ้างในบางประเด็น แต่หากต้องการความถูกต้อง ชัดเจนเพิ่มขึ้นอีก ก็จำเป็นต้องใช้เครื่องมือมาวิเคราะห์มากขึ้นนะ เอ้า! ลองมาดูกันหน่อยซิว่ากิจการนี้เป็นเช่นไรบ้าง
ก) ดูที่สินทรัพย์รวมของกิจการหากพิจารณาที่เปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นอาจดูแล้วเห็นว่าไม่มากนัก เนื่องจากเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากปี 48 เพียง 2.06% แต่หากพิจารณาที่จำนวนเงินก็มากอยู่นะ มีการลงทุนในสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจากปี 48 จำนวน 6 ล้านบาท ตามดูกันในรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปก็จะพบว่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นนี้น้ำหนักจะอยู่ที่
(1) ลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ นอกเหนือไปจากสินค้า หรือที่อาจเรียกได้ว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเร็วนั้นจำนวน 3 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 4.35% ตรงนี้ขอฟันธงว่าน่าจะเป็นข้อเสียมากกว่าข้อดี เนื่องจากการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเร็ว จะเป็นการดีต่อจุดประสงค์เกี่ยวกับมีความจำเป็นในการจ่ายชำระคืนหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งหากดูจากยอดสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการ 294 ล้านบาท เทียบกับยอดหนี้สินหมุนเวียน 10 ล้านบาท แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่มีปัญหาในการจ่ายคืนชำระหนี้ระยะสั้นอย่างแน่นอน แต่กลับจะเป็นผลร้ายคือทำให้กิจการเสียโอกาสในการทำธุรกิจหรือทำกำไร เนื่องจากสินทรัพย์หมุนเวียนหรือหมุนเร็ว ต่างก็ให้ผลตอบแทนในการลงทุนที่ต่ำมากเมื่อเทียบการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรหรือสินทรัพย์ระยะยาว จะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นกว่านี้ ถ้าหากทราบยอดของลูกหนี้และตั๋วเงินรับสุทธิ ก็จะทำการวิเคราะห์คุณภาพลูกหนี้ให้เพิ่มเติมได้ สรุปก็คือกิจการยังมีการบริหารจัดการการลงทุนในส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนยังไม่เหมาะสม เนื่องจากให้น้ำหนักการลงทุนในส่วนนี้สูงเกินความจำเป็น หากจะแย้งว่าเป็นการลงทุนเพื่อรองรับกิจกรรมการขายสินค้าตามปกติ ก็ฟังได้ยากเนื่องจากกิจการก็ได้มีการลงทุนในสต๊อกสินค้ารองรับกิจกรรมการขายไว้อยู่แล้ว ดังปรากฏในยอดสินค้าคงเหลือ ซึ่งกิจการลงทุนไว้ไม่น้อยมีสินค้าคงเหลือในปี 49 เป็นเงินสูงถึง 222 ล้านบาท โดยหากเทียบกับยอดขายในปี 49 ซึ่งมีเพียง 7 ล้านบาท ยิ่งชัดเจนและฟันธงได้อีกด้วยซ้ำไปอีกว่ากิจการมีสต๊อกสินค้าสูงเกินความจำเป็นอีกด้วย ทั้งนี้หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจ้าหนี้หรือตั๋วเงินจ่าย หรือยอดซื้อสินค้าสุทธิด้วย ก็จะยิ่งใช้ในการวิเคราะห์การบริหารสินค้าคงคลังได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ว่ากิจการบริหารสต๊อกได้เหมาะสมหรือไม่ แต่ในเบื้องต้นนี้เห็นว่ากิจการน่าจะมีปัญหาสต๊อกบวมด้วยในขณะนี้
(2) ลงทุนในที่ดินอาคารและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 333.33% ส่วนนี้น่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดีในการบริหารจัดการการลงทุนของกิจการ มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรซึ่งโดยปกติแล้วจะให้ผลตอบแทนกลับสู่กิจการสูงกว่าการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน จะชัดเจนขึ้นหากทราบว่าโดยรายละเอียดแล้วเป็นการลงทุนในสินทรัพย์อะไร ที่ดิน หรืออาคาร หรืออุปกรณ์ หากลงทุนในอุปกรณ์ซึ่งการหมายถึงเครื่องมือเครื่องจักรนั่นเอง ก็จะยิ่งเห็นอนาคตที่สดใส หากดูข้อมูลในปี 48 ของกิจการจากยอดเงินในรายการสินค้าคงเหลือที่มีจำนวนเงินสูงไม่ต่างกันมากนักกับปี 48 แต่จำนวนเงินที่ดินอาคารและอุปกรณ์ในปี 48 กลับมีน้อยมาก สมมติฐานได้สองประการว่า กิจการอาจเป็นการทำธุรกิจแบบซื้อมา-ขายไป ซึ่งจะมี Margin ในการค้าขายไม่มากนัก หรือประการที่สองหากกิจการเป็นธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขาย ซึ่งจะมี Margin ในการค้าขายสูงกว่านั้น ก็น่าจะอยู่ในลักษณะที่ว่า ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อขาย อาจได้มาโดยการเช่าใช้ หรืออาจจะมีการจ้างผลิต Outsourcing เป็นสำคัญ แต่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นก็อาจกำลังดำเนินการผลิตสินค้าเองมากขึ้น หรือจัดหาเครื่องมือเครื่องจักรมาทำการผลิตเองมากขึ้น เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตในการทำกำไรที่ดีขึ้นของกิจการ สรุปกิจการมีทิศทางในการลงทุนในส่วนของที่ดินอาคารและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น จะมีผลดีต่อกิจการในด้านความสามารถในการทำกำไรในอนาคต แต่ยังควรต้องเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในส่วนนี้ให้มากขึ้นเมื่อพิจารณาเทียบเคียงกับการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน
ข) เมื่อดูแหล่งที่มาของเงินทุนแล้วพบว่า กิจการมีแหล่งเงินทุนหลักจากส่วนของเจ้าของนั่นคือ หุ้นทุนเป็นเงิน 300 ล้านบาท ไม่มีแหล่งเงินทุนจากการกู้ยืมระยาว มีเพียงการจัดหาจากแหล่งระยะสั้นหรือหนี้สินหมุนเวียน แต่ก็มีสัดส่วนไม่มากเนื่องจากในปี 49 มีจำนวนเพียง 10 ล้านบาท และยังคงมีการคุ้มครองโดยสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการอย่างล้นเหลือ สรุปได้ว่ากิจการมีจุดแข็งในการที่เงินทุนของกิจการมาจากเจ้าของ มีภาระหนี้สินต่ำส่งผลให้กิจการมีความเสี่ยงในการชำระหนี้ต่ำมาก พูดง่ายๆ คือกิจการนี้รวยว่างั้นก็ได้ มีหนี้น้อย แต่ก็ถือว่าเป็นข้อด้อยหรือจุดอ่อนได้ในทางกลับกันคือ กิจการมีความกดดันที่ต้องทำกำไรให้ได้ในอัตราสูงเพื่อให้เพียงพอต่อการตอบแทนกลับให้แก่ผู้ถือหุ้น หากทำกำไรได้ไม่ดี ผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นก็จะต่ำไปด้วย หรือที่นักลงทุนโดยทั่วไป รู้จักกันในชื่อที่เรียกว่า “กำไรต่อหุ้น” นั่นเอง แต่เนื่องจากกิจการนี้ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้ถือหุ้นก็คือเจ้าของหรือผู้บริหารเป็นกลุ่มเดียวกัน กำไรต่อหุ้นจึงอาจดูไม่ค่อยมีน้ำหนักนัก ลองมองกันแบบพื้นๆ นะครับ หากท่านเป็นเถ้าแก่ของกิจการนี้ มีเงินอยู่ 300 ล้านบาทท่านนำมาลงทุนตั้งกิจการนี้ บริหารจัดการด้วยความทุ่มเทและเหน็ดเหนื่อย ถามหน่อยเถอะท่านต้องการผลตอบแทนสักเท่าไร เท่าดอกเบี้ยเงินฝาก หรือพันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้หรือตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงิน เพียงพอไหม แน่นอนตอบได้เลยว่าเป็นไงครับ ต้องมากกว่านั้นซิคร๊าบ ไม่งั้นจะตัองมาเหนื่อยกายเหนื่อยใจให้มันเมื่อยตุ้มทำไม? นั่นคือเหตุผลแบบบ้านๆ ที่ผู้เขียนพยายามจะให้ท่านได้เข้าใจคำกล่าวที่ว่า “การจัดหาเงินทุนของกิจการด้วยการออกหุ้นทุน เป็นวิธีการจัดหาเงินทุนที่มีต้นทุนสูงกว่าการกู้ยืม” เพราะผู้ถือหุ้นทุนคาดหวังผลตอบแทนไว้สูงกว่าที่ผู้ให้กู้ต้องการ ก็คือสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนั่นเอง
ค) หากพิจารณาจากงบกำไรขาดทุนเปรียบเทียบนั้น ยังบอกอะไรไม่ได้มากในเบื้องต้น ดูๆ แบบผิวเผินจากข้อมูลก็น่าจะดี หากมองในแง่พัฒนาการ เนื่องจากมีผลขาดทุนลดลงจากปี 48 จำนวน 2 ล้าน 5 แสนบาทหรือขาดทุนลดลง 33.33% ใช้เพียงแค่เครื่องมือระดับมัธยมด้วยหลักพีชคณิตแค่นี้วิเคราะห์คงไม่พอ
เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับการวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยคณิตศาสตร์ง่ายๆ ในตอนต่อไปเราจะลองนำเทคนิควิธีการในระดับปริญญามาใช้วิเคราะห์เพื่อภาพที่ชัดเจนของกิจการนี้มากยิ่งขึ้นนะครับ
|
บทความและข่าวสารบัญชี
|