ReadyPlanet.com


กรณีปัญหาตัวอย่างทางภาษีอากร#1


 ท่านผู้สนใจในประเด็นความรู้ทางภาษีอากรทุกท่าน

ในชุดหัวข้อกระทู้ที่ได้ตั้งขึ้นใหม่ต่อไปนี้ จะเป็นการตั้งคำถาม(ปุจฉา) เพื่อให้ค้นคว้าหาคำตอบตามประมวลรัษฎากร โดยมีจุดประสงค์เพื่อความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ เมื่อสมควรแก่เวลาแล้วจะได้นำเสนอคำตอบ(วิสัชณา)ในมุมมองของผู้ตั้งคำถามมาให้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ได้บ้างนะครับ

บริษัท VN ตั้งอยู่ในประเทศเวียดนาม ได้สั่งซื้อสินค้าจาก บริษัท ก. ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในประเทศไทย เนื่องจากบริษัท ก. ไม่มีสินค้าบริษัท ก. จึงสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท JP ซึ่งเป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้าในประเทศญี่ปุ่น โดยสั่งให้บริษัท JP ส่งมอบสินค้าดังกล่าวให้แก่บริษัท VN โดยตรง

 

 

Q1: บริษัท ก. ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรายได้ข้างต้นหรือไม่? อย่างไร?

Q2: เมื่อบริษัท VN จ่ายค่าสินค้าให้กับบริษัท ก. ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่?

 

Q3: ในกรณีที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย บริษัท ก. ต้องทำอย่างไร?

Q4: เมื่อบริษัท ก. จ่ายค่าสินค้าให้กับบริษัท JP ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่?

Q5: บริษัท JP ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยอย่างไร?

Q6: รายได้ขายสินค้าของบริษัท ก. ตามเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่? อย่างไร?

Q7: หากสินค้าที่บริษัท ก. ซื้อจากบริษัท JP มีภาษีซื้ออยู่ด้วย ทางบริษัท ก. สามารถนำมาขอคืนได้หรือไม่?

Q8: คำสั่งซื้อขายสินค้าระหว่างบริษัท ก. กับบริษัท VN ต้องเสียอากรแสตมป์หรือไม่?

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ Webmaster กระทู้ตั้งโดยเว็บมาสเตอร์ :: วันที่ลงประกาศ 2014-08-26 11:59:43


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3695864)

Q1: บริษัท ก. ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรายได้ข้างต้นหรือไม่? อย่างไร?

 

A1: ตามมาตรา 66 วรรคแรกประกอบกับคำนิยามบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 ต้องนำรายได้ดังกล่าวรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิซึ่งคำนวณได้ตามมาตรา 65 ด้วยการปรับกำไรสุทธิทางบัญชีให้เป็นเกณฑ์สิทธิโดยเงื่อนไขตามมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี และเสียภาษีโดยแบบ ภ.ง.ด.50 ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ผู้แสดงความคิดเห็น Webmaster ตอบโดยเว็บมาสเตอร์วันที่ตอบ 2014-08-28 14:44:31


ความคิดเห็นที่ 2 (3697906)

 Q2: เมื่อบริษัท VN จ่ายค่าสินค้าให้กับบริษัท ก. ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่?

 

A2: ขึ้นอยู่กับกฎหมายภาษีหัก ณ ที่จ่ายของประเทศเวียดนาม หากเข้ากรณีที่ต้องหักไว้แล้ว ก็จึงพิจารณาต่อเกี่ยวกับการมีอนุสัญญาภาษีซื้อนระหว่างกันหรือไม่ ซึ่งมี โดยมีผลนับแต่ปีภาษี 2536 รายได้ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นกำไรจากธุรกิจ ที่ตกลงกันให้เสียภาษีที่รัฐถิ่นที่อยู่ของผู้มีเงินได้คือประเทศไทย เว้นแต่เงินได้นั้น บริษัท ก. ได้โดยการประกอบธุรกิจผ่านสถานประกอบการถาวรของตนในประเทศเวียดนาม ซึ่งกรณีตัวอย่างนี้ไม่ใช่ บริษัท VN จึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายถึงแม้ว่าตามกฎหมายภาษีในประเทศเวียดนามจะต้องหักไว้ก็ตาม

ผู้แสดงความคิดเห็น Webmaster ตอบโดยเว็บมาสเตอร์วันที่ตอบ 2014-09-01 11:23:54



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.